01 Oct 2021
ยุคนี้ ใครๆ ก็อยากจะมีกิจการเป็นของตัวเอง แต่ถ้าคิดจะมีกิจการเป็นของตัวเองแล้วต้องไม่ลืมศึกษาเรื่องภาษีด้วยนะ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ที่เจ้าของกิจการหลายๆ คนพลาดมาแล้ว!
วันนี้ขอแนะนำภาษีทั้ง 5 ประเภทที่เจ้าของกิจการ หรือนักธุรกิจทั้งหลายต้องรู้จักและต้องชำระให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าใครยังไม่รู้จัก ต้องรีบไปศึกษาแล้วนะ
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ตามแบบ ภ.ง.ด.50)
เจ้าภาษีตัวนี้เป็นภาษีที่สรรพากรจะเรียกเก็บจากนิติบุคคลซึ่งจะเก็บกับคนที่ทำธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมี 2 ประเภท ดังนี้
กำไรสุทธิ | อัตราภาษีร้อยละ |
ไม่เกิน 300,000 บาท | ยกเว้น |
เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท | 15 |
เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป | 20 |
วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
กำไรสุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องชำระ
2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ตามแบบ ภ.ง.ด.53)
ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้าแล้ว เราจึงสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้หากชำระไว้เกิน เพราะตัวกฎหมายกำหนดว่าให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าที่จ่ายเงินให้กับเรานั้นมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด
ประเภทของเงินได้ | ผู้รับเงิน | อัตราภาษีที่กำหนด |
ค่านายหน้า และ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 3.0 |
มูลนิธิหรือสมาคม | ร้อยละ 10.0 | |
ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ย ตั๋วเงิน | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 1.0 |
มูลนิธิหรือสมาคม | ร้อยละ 10.0 | |
ให้เช่าทรัพย์สิน | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 5.0 |
มูลนิธิหรือสมาคม | ร้อยละ 10.0 | |
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 3.0 |
มูลนิธิหรือสมาคม | ร้อยละ 10.0 | |
เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นใด | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 10.0 |
ค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็น เงินได้พึงประเมินตาม – มาตรา 40 (7) แห่งประมวล รัษฎากร – มาตรา 40 (8) แห่งประมวล รัษฎากรการรับจ้างทำของ | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 3.0 |
เงินจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หรือการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 5.0 |
ค่าโฆษณา | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 2.0 |
เงินได้จากการให้บริการ/การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ /การจ่ายค่าบริการโรงแรม และภัตตาคาร/การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 3.0 |
รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 3.0 |
ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย | ร้อยละ 1.0 |
ค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่าย ค่าโดยสารสำหรับการขนส่ง สาธารณะ | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคม) | ร้อยละ 1.0 |
การจ่ายเงินได้ จากการซื้อขายสินค้า ประเภท ยางแผ่น หรือยางชนิดอื่นจาก ต้นยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าว ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล | ร้อยละ 0.75 |
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลายคนคุ้นๆ กับภาษีประเภทนี้ เพราะเคยได้ยินจากการซื้อของกินของใช้ทั่วไป ซึ่งเราต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีประเภทนี้จะเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจหรือคนที่ให้บริการต่างๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ ก็คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ที่มีรายได้/ยอดขายตั้งแต่ 1,800,000 บาท/ปี ขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ราคาสินค้า/บริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราถูกเรียกเก็บนั้นเป็นการเรียกเก็บจาก 2 ส่วนคือ
ทำให้สุทธิแล้ว เราจะเสียทั้งหมด 6.3% บวกกับ 1/9 x 6.3% = 0.7% เป็น 7% สุทธิ จริง ๆ แล้วกฎหมายบัญญัติอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่ทุก ๆ สองปี (รวมถึงในปัจจุบัน) มักจะมี พระราชกฎษฎีกา ออกมาเพื่อลดอัตราดังกล่าวลงมาเหลือ 7%
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นเนอะภาษีประเภทนี้จะถูกเก็บในธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงแล้วมีอะไรบ้างล่ะ? มาดูตัวอย่างกัน ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ อะไรประมาณนี้เป็นต้น ถ้าเจ้าของกิจการคนไหนที่ไม่ได้ทำกิจการที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขต้องเสียภาษีประเภทนี้ก็สามารถปล่อยผ่านแบบชิลๆ ได้เลย
5.อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ก็เป็นอะไรที่คนทั่วไปดูจะไม่คุ้น โดยจะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน ใน 28 ลักษณะที่เค้ากำหนดไว้ถ้าเจาะลึกอาจจะยาวววววว เราสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสรรพากรได้เลยที่ www.rd.go.th
ขอบคุณแหล่งที่มา : noon.in.th/blog/