31 May 2022
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) เป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565
PDPA คืออะไร?
PDPA เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ให้ความคุ้มครองในข้อมูลของบุคคลทุกคนที่เคยให้ไว้แก่องค์กรต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นที่ถูกจัดเก็บโดยแต่ละองค์กรมีความปลอดภัยมากขึ้น และจำกัดการนำข้อมูลไปใช้หรือเผยแพร่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นๆด้วย โดยกฎหมายนี้จะช่วยส่งเสริมในแง่ของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสากลอีกด้วย
กฎหมายนี้จะบังคับให้องค์กรต่างๆ ที่เคยเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของใครก็แล้วแต่ไว้ ต้องจัดเก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัยไม่ให้รั่วไหล และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยต้องแจ้งวัตถุประสงค์ และสาเหตุที่ต้องขอข้อมูลนั้นๆไว้ด้วย
บุคคลที่จะเกี่ยวข้องได้แก่
ข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้าเงื่อนไขมีดังนี้
สิทธิของเจ้าของข้อมูลมีดังนี้
ซึ่งการที่มีกฎหมายนี้มาทำให้แต่ละองค์กรต้องแต่งตั้งผู้จัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกกันว่า PDO (Data Protective Officer)
หน้าที่หลักๆของตำแหน่งงานนี้คือจะต้องรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องในองค์กรให้เป็นความลับ และมีหน้าที่ประสานงานและรายงานต่อสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)
บทลงโทษ
โทษทางปกครอง - ไม่สามารถยอมความได้
ไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิ ไม่จัดทำบันทึกรายการ ไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่จัดให้มีการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ DPO โทษปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้งานใหม่ เก็บข้อมูลเกินความจำเป็น ขอความยินยอมที่เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิด ไม่ขัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ไม่แจ้งเหตุเมื่อมีการละเมิดข้อมูล โอนข้อมูลไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักร โทษปรับไม่เกิน 3,000,000 บาท
เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โทษปรับไม่เกิน 5,000,000 บาท
โทษทางแพ่ง
ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่เกินสองเท่าของสินไหมทดแทนที่แท้จริง
โทษทางอาญา
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือผิดจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวไปยังต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชั หรือได้รับความอับอาย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.นี้ ห้ามนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น เว้นแต่เปิดเผยตามหน้าที่หรือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือพิจารณาคดี หรือได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือข้อมูลคดีต่าง ๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท
ผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล หากกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น สั่งการหรือกระทำหรือละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ต้องรับโทษในส่วนที่กำหนดโทษอาญาไว้ด้วย
บทความโดย: บริษัท กรุงเทพการบัญชี (1975) จำกัด